วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

3. Exponential Moving Average (EMA)

Moving Average คือการนำค่าเฉลี่ยของราคาปิด (Close Price) ของแท่งเทียนแต่ละวันมา Plot เป็นกราฟ

**** ถ้าภาพไม่ชัด ดูไม่ใหญ่พอ กรุณา Click ที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่ ****
Moving Average มีหลายอย่าง ยกมาสองตัวพอ
1. Simple Moving Average คือการนำค่าเฉลี่ยทั้งห้าวัน นำราคา Close ทั้งห้าวันมารวมกันแล้วหาร 5
2. Exponential Moving Average คือ การให้ค่าน้ำหนักวันหลังมากที่สุด ค่าน้ำหนักวันแรกน้อยที่สุด แล้วนำมาคิดทั้งหมด 5 ค่ารวมกัน ก็จะได้จุดๆ หนึ่ง

โดยตูชอบใช้ Exponential มากกว่า เพราะรู้สึกมันเหมาะกับปัจจุบันมากกว่า เพราะคิดว่าราคาวันล่าสุดควรจะมี นัยยะสำคัญมากที่สุด

ดังรูป...


ใช้ภาพใหญ่ๆ ให้เห็นชัดๆ ในภาพนี้เป็นหุ้น CPALL ( หรือเซเว่น-อีเลเว่น นั่นแหละ)

การที่ราคายืนเหนือเส้นถือว่าเป็นขาขึ้น การราคาปิดอยู่ใต้เส้นแปลว่าเป็นขาลง

*** แต่... ขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่เซ็ทค่าไว้ด้วย ยิ่งเส้นน้อย ความผันผวนก็จะมาก ยิ่งเซ็ทค่าวันมากเกิน บางทีมันก็ตอบสนองช้าเกิน

คนส่วนใหญ่มักจะใช้สองเส้นในการช่วยดูจุดเข้าและจุดออก ดังรูป


เส้นแรก Exponential Moving Average เรียกย่อๆ ว่า EMA 5 วัน สีฟ้า
เส้นสอง EMA 15 วัน สีส้ม

ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยวันน้อย ( ในที่นี้คือ 5 ) ตัดเส้นค่าเฉลี่ยวันมาก ( EMA15 ) ตัดขึ้นเป็นสัญญาณซื้อ
ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยวันน้อย ( ในที่นี้คือ 5 ) ตัดเส้นค่าเฉลี่ยวันมาก ( EMA15 ) ตัดลงเป็นสัญญาณขาย

ตัดขึ้น ตัดลง ภาษาศัพท์เทคนิคเรียกว่า Cross Over
ในรูปจะเห็นได้ว่าบางทีมันก็มี False Signal อยู่ แต่ Trend ทีๆ ครั้งเดียวก็จะคืนกำไรให้หมดนั่นแหละ

คนส่วนใหญ่จะชอบใช้หลายๆ เส้น โดยส่วนใหญ่ที่ SET กันมากที่สุดคือ 5 , 10 , 15 , 20 , 50 , 75 , 200

ขึ้นอยู่กับว่าชอบเล่นเร็วหรือเล่นสั้น  ค่าเฉลี่ยแต่ละวันก็ถือเป็นแนวรับและแนวต้านในตัวของมันเอง
โดยส่วนตัวชอบใช้ 4 , 9 , 18 สามเส้นมากสุด

เนื่องจากถ้าใช้แค่ 4 กับ 9 บางทีเจอตลาด Sideways ( คือขึ้นๆ ลงๆ ไม่มี Trend ที่แน่ชัด เป็นตลาดที่เล่นยากที่สุด ) เส้น 4, 9 มันจะตัดกันลง แต่เส้น 18 เหมือนกันตลาดทิศทางแบบ Sideway หรือการปรับราคาลงเพื่อขึ้นต่อตามแพทเทิร์นของ Elliott Wave ส่วนใหญ่ 4,9 มันจะตัดกัน แต่เส้น 18 วันมันยังไม่ส่งสัญญาณ



ถ้าใช้สามเส้นก็ 4 ตัด 18 ซื้อ หรือจะเข้าโดยใช้ 4 ตัด 9 ก็ได้ โดยอาจพิจารณาตัวอื่นๆ ประกอบ
แล้วไปขาย 4 ตัด 18 วัน

กราฟต่อไป ปตท.

จริงๆ มันยังมีรายละเอียดยิบย่อย รอค่อยๆ เรียนในบทต่อๆไป

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

2. Gap Theory

Gap Theory เป็นทฤษฎีที่บอกถึงความไม่ต่อเนื่องของราคา คือกราฟแท่งเทียนมันไม่ต่อเนื่อง มีช่องว่าง ดังรูป


รูปที่เอามาเป็น Time Frame แบบ Day คือ แท่งเทียน 1 แท่ง / 1 วัน
Gap Theory จะไม่สนใจว่าเป็นสีเขียว หรือ สีแดง สนใจแต่แท่งเทียน สนใจแต่ Gap คือ ช่องว่างของราคา

Gap Theory บอกว่า เมื่อเกิดช่องว่างของราคาหุ้น ในอนาคตจะต้องลงมาปิดแก๊ป (Close Gap) ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคตอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่ว่าจะช้าหรือเร็ว เร็วก็อาจจะไม่กี่วัน ช้าๆ นี่ก็อาจจะหลายๆ เดือนหรือเป็นปีก็ได้



ที่วงๆ ให้ดูนี่คือช่องว่างของราคา เด๋วไล่อธิบายทีละเบอร์ จริงๆ ในรูปมันมี Gap หรือช่องว่างมากกว่า 3 วงนะ แต่เด๋วลากเยอะเด๋วงง ถ้าเข้าใจ Concept มันก็เข้าใจทั้งหมดนั่นแหละ

เบอร์ 1

จะเห็นว่าใน 3 แท่งแรกนี้มันจะมี Gap อยู่ 2 ที่ ก็อย่างที่บอกว่า ช่วงราคาที่มันเกิด Gap มันจะต้องมา Close Gap ในวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน เป็นทุกตลาดไม่เฉพาะกับตลาดหุ้นเท่านั้น ตลาดทอง ตลาดค่าเงินบาท ตลาด Commodity ก็เป็นงี้ Gap Theory สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกตลาด

กรอบสี่เหลี่ยมด้านบนแบบนี้ปิดกับแท่งเทียนสีเขียวยาวๆ ตามที่ลากกรอบให้ดูถือว่า Gap นี้ปิดสมบูรณ์แบบแล้ว

มาดูกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างบ้าง จะเห็นว่าก่อนที่จะปิดกับแท่งเทียนสีเขียว มันมีไส้เทียนของสีแดงก่อน แบบนี้ไม่นับว่า Close Gap อย่างสมบูรณ์ พอวันถัดไปปิดกับแท่งสีเขียวจึงถือว่าเป็นการ Close Gap อย่างสมบูรณ์ตามทฤษฎี

เบอร์สอง


คือมีช่องว่างระหว่าง Body กับ Body แต่จะเห็นว่ามีไส้เทียนด้วย แบบนี้ก็ถือว่าเป็น Gap เหมือนกัน คล้ายๆ กับรูปเบอร์ 1 ก่อนปิดอย่างสมบูรณ์มีไส้เทียนสีเขียวมาขวางก่อนสองที่ แต่ปิดอย่างสมบูรณ์จริงๆ แล้วก็แท่งสีแดงยาวๆ ตามกรอบที่วาดให้ดู

เบอร์สาม


อธิบายตามเบอร์
3.1 คือ Gap จริงๆ ระหว่างราคาสองแท่ง
3.2 คือ Gap ที่ยังเหลืออยู่ที่ยังปิดไม่หมด
3.3 คือ Gap ที่ปิดไปแล้วเหลือ Gap ช่องเล็กๆ ตามเบอร์สองที่จะต้องมีการปิดในอนาคตอย่างแน่นอน



จัดเต็ม ดูภาพแบบบิ๊กๆ อันนี้เป็นกราฟ PTT ระหว่างวันที่ 07/06/10 - 04/03/12 ( ราวๆ 1 ปี 9 เดือน )

เพื่อความเข้าใจ จริงๆ มันมี Gap มากกว่านี้นะ ลากหมดเด๋วมึนกัน เอาที่พอเห็นว่ามัน Work ก็พอละ เหมือนเดิม Gap ไหนที่ยังไม่ได้ปิดในอนาคตมันก็ไปปิดนั่นแหละ กราฟขาขึ้นก็ปิด Gap ที่อยู่ข้างบน
ขาลงก็จะพยายามไปปิด Gap ที่อยู่ต่ำๆ

กราฟไหนที่ไม่ได้วงลองใช้สายตาทำการบ้านดู ว่าอันไหนปิดแล้ว อันไหนยังไม่ได้ปิด อันไหนปิดไปบ้างแต่ยังไม่สมบูรณ์ ค่อยๆ ฝึกเอา
จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องของ Demand & Supply + จิตวิทยาการลงทุนอะ คนที่มีกำลังซื้อส่วนใหญ่กลุ่มนึงก็เล่นตามกราฟ มันเลยทำให้ทฤษฎีมันค่อนข้างจะเป๊ะ


พอละสำหรับ Gap Theory รอต่อบท 3 เรื่องใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1. ปูพื้นฐาน + กราฟแท่งเทียน (Candle Stick)

หน้าตาภาพในตลาดหุ้นบางส่วน


1. ชื่อหุ้น
2. ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน  +1 หมายความว่า +1 บาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 0.28% จาก ณ ราคาวันก่อน คือ 358 บาท
3. Vol/Value(K) จำนวนหุ้น กับ จำนวนเงิน
4. การแกว่งตัวของราคาหุ้น (High/Low) High ของวันคือ 360 Low ของวัน 352 บาท
5. Volume  Bid / Volume  Offer

- Volume ฝั่ง Bid คือ จำนวนคนตั้งเสนอซื้อหุ้นที่ราคา 358 บาท จำนวน 11,900 หุ้น
สมมติเอ็งมีหุ้น ปตท(PTT) อยู่ในมือ 120,000 หุ้น ต้องการขายทันที นั่นหมายความว่า
จะขายที่ราคา 358 จำนวน 11900
ส่วนที่เหลืออีก 100100 หุ้น จะไปขายที่ราคา 357 บาท

- Volume ฝั่ง Offer คือ กลับกันกับฝั่ง Bid คือจำนวนคนที่ต้องการเสนอขาย โดยต้องมีหุ้นอยู่ในมือ
ที่ราคา 359 บาท มีคนต้องการเสนอขาย 166,900 หุ้น

สมมติว่าเอ็งต้องการซื้อเลยที่ราคา 359 บาทจำนวน 10,000 หุ้น ก็สามารถได้หุ้นทันที เรียกว่าหุ้นมีสภาพคล่องเพียงพอ

ทีนี้ถ้าเอ็งอยากได้ถูกลงมาหน่อยสักบาทนึง จำนวน 10,000 หุ้น ก็ไปเสนอซื้อราคาที่ 358 บาท แต่เอ็งต้องไปต่อคิว 11,900 หุ้น ไอ่จำนวนนี้ก็จะอัพเดทเพิ่มกลายเป็น 21,900 หุ้น พอมันหมด 11,900 หุ้นที่เหลือก็ถึงคิวเอ็ง

การซื้อจำนวนหุ้นต่ำสุดในตลาดหลักทรัพย์

น้อยสุด 100 หุ้น หรือมากกว่านั้น โดยหาร /100 ลงตัว
นั่นหมายความว่า ถ้าต้องการจะซื้อหุ้น ปตท. (PTT)
จะต้องมีเงินอย่างน้อย 359 x 100 =  35,900 บาทโดยประมาณ

ถ้าต้องการจะซื้อจำนวนเศษ เช่น 1 หุ้น 30 หุ้น 64 หุ้น 95 หุ้น ต้องไปซื้อในบอร์ด (ODD LOT)
ส่วนถ้าต้องการเสนอซื้อจำนวนมากๆ มหาศาลเช่น 10 ล้านหุ้น เรียกว่า (BIG LOT)
หุ้นในตลาดมีราคาต่ำสุดที่ 0.01 บาท (หนึ่งสตางค์) มีบาทนึงก็ซื้อหุ้นได้
จนสูงๆ ก็หลายร้อยบาท

มารู้จักเบสิคพื้นฐานแรกของการเริ่มต้นศึกษา Technical Analysis สิ่งแรกที่ต้องรู้จักคือ แท่งเทียน (Candlestick)

แท่งเทียนเกิดจากการเอาราคาที่แกว่งตัวในตลาดทุกๆ วันมาพล๊อตเป็นแท่ง วันละแท่ง วันละแท่ง


หน้าตามันเป็นแบบนี้

ตรงที่เขียนว่า Real Body เรียกว่า แท่งเทียน ขีดเดียว Upper/Lower Shadow เรียกว่า ไส้เทียน

สีเขียวแสดงถึง การเพิ่มขึ้นของราคา เช่น เปิดตลาด มีราคา (Open) ที่ 358 บาท
ในระหว่างวันหุ้นมักจะมีราคาแกว่ง เช่น PTT ว่ามีแกว่งทั้งขึ้นและลง คือทำ High ที่ 360 บาท Low 352 บาท
แต่ปิดตลาด (Close) จบลงที่ 359 บาท

ตรงราคา
358 - 359  บาท  เรียกว่า แท่งเทียน
352 - 358  บาท  เรียกว่า ไส้เทียนล่าง
359 - 360  บาท  เรียกว่า ไส้เทียนบน



แท่งขวาสุดคือ ณ ปัจจุบัน 1 แท่ง = 1 วัน
( ใช้ Time Frame 1 แท่งต่อหนึ่งวัน ไอ่ตรงนี้สามารถ Adjust ปรับเปลี่ยนเลือก Time Frame ได้
 เช่นถ้า Set แท่งละสัปดาห์ก็ปรับในโปรแกรมเอาได้ )

แท่งสีเขียว หมายถึงราคาเป็นบวก    เปิดต่ำแต่ปิดราคาสูงกว่า
แท่งสีแดง     หมายถึงราคาเป็นลบ      เปิดสูงปิดต่ำ

จะสังเกตุได้ว่า ไส้เทียนด้านล่างจะยาว คือราคาแกว่งระหว่างวันไปที่ 352 - 358 บาท
ส่วนแท่งเทียนมีอยู่จึ๋งนึงคือ 358 - 359
High พุ่งไป 360

** ไม่ว่าจะซื้อกี่หุ้น 1 หุ้น แสนหุ้น ล้านหุ้น ก็มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อรับฟังการแถลงการณ์ต่างๆ
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้บริหารก็ได้ เช่น เรื่องการลงทุนในอนาคต , ปันผล , จิปาถะ ฯลฯ


จริงๆ แล้วกราฟมันมีหลายแบบ แต่ใช้กันมากที่สุดก็นี่แหละ Candlestick เอา รูปมาให้ดูเฉยๆ ด้านซ้ายเรียกว่า Bar Chart

การนำแท่งเทียนหลายๆ แท่งมันก็สามารถวิเคราะห์ได้หลายๆ Pattern เอารูปมาให้ดูอีก
จะเห็นได้ว่ามี Pattern ที่หลากหลาย หรือเยอะจัด ยังไม่ต้องจำ ดูให้รู้ว่ามันมีก็พอไปก่อนตอนนี้
ไอ่พวกนี้บางคนก็เอาไป predict แนวโน้มในอนาคตกัน ย้ำอีกที ดูเฉยๆ ยังไม่ต้อง งง



วันนี้พอก่อน... ต่อตอนหน้า