วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

3. Exponential Moving Average (EMA)

Moving Average คือการนำค่าเฉลี่ยของราคาปิด (Close Price) ของแท่งเทียนแต่ละวันมา Plot เป็นกราฟ

**** ถ้าภาพไม่ชัด ดูไม่ใหญ่พอ กรุณา Click ที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่ ****
Moving Average มีหลายอย่าง ยกมาสองตัวพอ
1. Simple Moving Average คือการนำค่าเฉลี่ยทั้งห้าวัน นำราคา Close ทั้งห้าวันมารวมกันแล้วหาร 5
2. Exponential Moving Average คือ การให้ค่าน้ำหนักวันหลังมากที่สุด ค่าน้ำหนักวันแรกน้อยที่สุด แล้วนำมาคิดทั้งหมด 5 ค่ารวมกัน ก็จะได้จุดๆ หนึ่ง

โดยตูชอบใช้ Exponential มากกว่า เพราะรู้สึกมันเหมาะกับปัจจุบันมากกว่า เพราะคิดว่าราคาวันล่าสุดควรจะมี นัยยะสำคัญมากที่สุด

ดังรูป...


ใช้ภาพใหญ่ๆ ให้เห็นชัดๆ ในภาพนี้เป็นหุ้น CPALL ( หรือเซเว่น-อีเลเว่น นั่นแหละ)

การที่ราคายืนเหนือเส้นถือว่าเป็นขาขึ้น การราคาปิดอยู่ใต้เส้นแปลว่าเป็นขาลง

*** แต่... ขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่เซ็ทค่าไว้ด้วย ยิ่งเส้นน้อย ความผันผวนก็จะมาก ยิ่งเซ็ทค่าวันมากเกิน บางทีมันก็ตอบสนองช้าเกิน

คนส่วนใหญ่มักจะใช้สองเส้นในการช่วยดูจุดเข้าและจุดออก ดังรูป


เส้นแรก Exponential Moving Average เรียกย่อๆ ว่า EMA 5 วัน สีฟ้า
เส้นสอง EMA 15 วัน สีส้ม

ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยวันน้อย ( ในที่นี้คือ 5 ) ตัดเส้นค่าเฉลี่ยวันมาก ( EMA15 ) ตัดขึ้นเป็นสัญญาณซื้อ
ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยวันน้อย ( ในที่นี้คือ 5 ) ตัดเส้นค่าเฉลี่ยวันมาก ( EMA15 ) ตัดลงเป็นสัญญาณขาย

ตัดขึ้น ตัดลง ภาษาศัพท์เทคนิคเรียกว่า Cross Over
ในรูปจะเห็นได้ว่าบางทีมันก็มี False Signal อยู่ แต่ Trend ทีๆ ครั้งเดียวก็จะคืนกำไรให้หมดนั่นแหละ

คนส่วนใหญ่จะชอบใช้หลายๆ เส้น โดยส่วนใหญ่ที่ SET กันมากที่สุดคือ 5 , 10 , 15 , 20 , 50 , 75 , 200

ขึ้นอยู่กับว่าชอบเล่นเร็วหรือเล่นสั้น  ค่าเฉลี่ยแต่ละวันก็ถือเป็นแนวรับและแนวต้านในตัวของมันเอง
โดยส่วนตัวชอบใช้ 4 , 9 , 18 สามเส้นมากสุด

เนื่องจากถ้าใช้แค่ 4 กับ 9 บางทีเจอตลาด Sideways ( คือขึ้นๆ ลงๆ ไม่มี Trend ที่แน่ชัด เป็นตลาดที่เล่นยากที่สุด ) เส้น 4, 9 มันจะตัดกันลง แต่เส้น 18 เหมือนกันตลาดทิศทางแบบ Sideway หรือการปรับราคาลงเพื่อขึ้นต่อตามแพทเทิร์นของ Elliott Wave ส่วนใหญ่ 4,9 มันจะตัดกัน แต่เส้น 18 วันมันยังไม่ส่งสัญญาณ



ถ้าใช้สามเส้นก็ 4 ตัด 18 ซื้อ หรือจะเข้าโดยใช้ 4 ตัด 9 ก็ได้ โดยอาจพิจารณาตัวอื่นๆ ประกอบ
แล้วไปขาย 4 ตัด 18 วัน

กราฟต่อไป ปตท.

จริงๆ มันยังมีรายละเอียดยิบย่อย รอค่อยๆ เรียนในบทต่อๆไป

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

2. Gap Theory

Gap Theory เป็นทฤษฎีที่บอกถึงความไม่ต่อเนื่องของราคา คือกราฟแท่งเทียนมันไม่ต่อเนื่อง มีช่องว่าง ดังรูป


รูปที่เอามาเป็น Time Frame แบบ Day คือ แท่งเทียน 1 แท่ง / 1 วัน
Gap Theory จะไม่สนใจว่าเป็นสีเขียว หรือ สีแดง สนใจแต่แท่งเทียน สนใจแต่ Gap คือ ช่องว่างของราคา

Gap Theory บอกว่า เมื่อเกิดช่องว่างของราคาหุ้น ในอนาคตจะต้องลงมาปิดแก๊ป (Close Gap) ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคตอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่ว่าจะช้าหรือเร็ว เร็วก็อาจจะไม่กี่วัน ช้าๆ นี่ก็อาจจะหลายๆ เดือนหรือเป็นปีก็ได้



ที่วงๆ ให้ดูนี่คือช่องว่างของราคา เด๋วไล่อธิบายทีละเบอร์ จริงๆ ในรูปมันมี Gap หรือช่องว่างมากกว่า 3 วงนะ แต่เด๋วลากเยอะเด๋วงง ถ้าเข้าใจ Concept มันก็เข้าใจทั้งหมดนั่นแหละ

เบอร์ 1

จะเห็นว่าใน 3 แท่งแรกนี้มันจะมี Gap อยู่ 2 ที่ ก็อย่างที่บอกว่า ช่วงราคาที่มันเกิด Gap มันจะต้องมา Close Gap ในวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน เป็นทุกตลาดไม่เฉพาะกับตลาดหุ้นเท่านั้น ตลาดทอง ตลาดค่าเงินบาท ตลาด Commodity ก็เป็นงี้ Gap Theory สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกตลาด

กรอบสี่เหลี่ยมด้านบนแบบนี้ปิดกับแท่งเทียนสีเขียวยาวๆ ตามที่ลากกรอบให้ดูถือว่า Gap นี้ปิดสมบูรณ์แบบแล้ว

มาดูกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างบ้าง จะเห็นว่าก่อนที่จะปิดกับแท่งเทียนสีเขียว มันมีไส้เทียนของสีแดงก่อน แบบนี้ไม่นับว่า Close Gap อย่างสมบูรณ์ พอวันถัดไปปิดกับแท่งสีเขียวจึงถือว่าเป็นการ Close Gap อย่างสมบูรณ์ตามทฤษฎี

เบอร์สอง


คือมีช่องว่างระหว่าง Body กับ Body แต่จะเห็นว่ามีไส้เทียนด้วย แบบนี้ก็ถือว่าเป็น Gap เหมือนกัน คล้ายๆ กับรูปเบอร์ 1 ก่อนปิดอย่างสมบูรณ์มีไส้เทียนสีเขียวมาขวางก่อนสองที่ แต่ปิดอย่างสมบูรณ์จริงๆ แล้วก็แท่งสีแดงยาวๆ ตามกรอบที่วาดให้ดู

เบอร์สาม


อธิบายตามเบอร์
3.1 คือ Gap จริงๆ ระหว่างราคาสองแท่ง
3.2 คือ Gap ที่ยังเหลืออยู่ที่ยังปิดไม่หมด
3.3 คือ Gap ที่ปิดไปแล้วเหลือ Gap ช่องเล็กๆ ตามเบอร์สองที่จะต้องมีการปิดในอนาคตอย่างแน่นอน



จัดเต็ม ดูภาพแบบบิ๊กๆ อันนี้เป็นกราฟ PTT ระหว่างวันที่ 07/06/10 - 04/03/12 ( ราวๆ 1 ปี 9 เดือน )

เพื่อความเข้าใจ จริงๆ มันมี Gap มากกว่านี้นะ ลากหมดเด๋วมึนกัน เอาที่พอเห็นว่ามัน Work ก็พอละ เหมือนเดิม Gap ไหนที่ยังไม่ได้ปิดในอนาคตมันก็ไปปิดนั่นแหละ กราฟขาขึ้นก็ปิด Gap ที่อยู่ข้างบน
ขาลงก็จะพยายามไปปิด Gap ที่อยู่ต่ำๆ

กราฟไหนที่ไม่ได้วงลองใช้สายตาทำการบ้านดู ว่าอันไหนปิดแล้ว อันไหนยังไม่ได้ปิด อันไหนปิดไปบ้างแต่ยังไม่สมบูรณ์ ค่อยๆ ฝึกเอา
จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องของ Demand & Supply + จิตวิทยาการลงทุนอะ คนที่มีกำลังซื้อส่วนใหญ่กลุ่มนึงก็เล่นตามกราฟ มันเลยทำให้ทฤษฎีมันค่อนข้างจะเป๊ะ


พอละสำหรับ Gap Theory รอต่อบท 3 เรื่องใหม่